สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี
สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หมุนตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: คณะผู้แทนรวมตัวกันในสภาคองเกรสซิวัส เพื่อกำหนดเป้าหมายของขบวนการแห่งชาติตุรกี; พลเรือนชาวตุรกีได้แบกอาวุธไปยังแนวหน้า; ทหารราบของ Kuva-yi Milliye; กองทหารม้าตุรกีอยู่ในการไล่ล่า; กองทัพตุรกีได้เข้ายึดครองเมืองอิซเมียร์; ทหารในจัตุรัสยูรัสของอังการาเพื่อเตรียมตัวที่จะออกเดินทางไปยังแนวหน้า | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
รัฐบาลอังคารา โซเวียตรัสเซีย |
ราชอาณาจักรกรีซ ฝรั่งเศส อาร์มีเนีย สหราชอาณาจักร จักรวรรดิออตโตมัน อิตาลี | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก Fevzi Pasha Kâzım Pasha Ali Fuat Pasha อิสเมท อีเนอนือ วลาดีมีร์ เลนิน |
Anastasios Papoulas Georgios Hatzianestis Leonidas Paraskevopoulos Henri Gouraud Drastamat Kanayan Movses Silikyan George Milne Süleyman Şefik Pasha |
สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี (ตุรกี: Kurtuluş Savaşı "War of Liberation", ยังเป็นที่รู้จักโดยปริยายคือ İstiklâl Harbi "สงครามประกาศอิสรภาพ" หรือ Millî Mücadele "การทัพชาตินิยม"; 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 – 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1923) เป็นการสู้รบกันระหว่างขบวนการแห่งชาติตุรกีกับตัวแทนฝ่ายสัมพันธมิตร - คือ กรีซบนแนวรบด้านตะวันตก อาร์มีเนียทางด้านตะวันออก ฝรั่งเศสทางตอนใต้ พวกนิยมกษัตริย์และผู้ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนในเมืองต่างๆ และสหราชอาณาจักรและอิตาลีในกรุงอิสตันบูล – ภายหลังจากส่วนต่างๆ ของจักรวรรดิออตโตมันได้ถูกยึดครองและแบ่งแยกภายหลังจากความปราชัยของออตโตมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีทหารฝ่ายยึดครองอย่างบริติซ ฝรั่งเศส และอิตาลีเพียงไม่กี่คนที่กรีฑาทัพหรือเข้าร่วมการสู้รบ
ขบวนการแห่งชาติตุรกี (Kuva-yi Milliye) ในอานาโตเลีย ได้มีการจัดตั้งสมัชชาใหญ่แห่งชาติ (GNA; ตุรกี: BMM) โดยมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค และเพื่อนร่วมขบวนการของเขา ภายหลังสิ้นสุดลงของแนวรบตุรกี-อาร์มีเนีย ฝรั่งเศส-ตุรกี และกรีซ-ตุรกี (มักจะเรียกว่า แนวรบด้านตะวันออก แนวรบทางใต้ และแนวรบตะวันตกของสงคราม, ตามลำดับ) สนธิสัญญาเซเวร์ได้ถูกยกเลิก และสนธิสัญญาคาร์ส(เดือนตุลาคม ค.ศ. 1921) และสนธิสัญญาโลซาน(เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1923) ได้ถูกลงนาม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ออกจากอานาโตเลียและดินแดนตุรกีฝั่งยุโรป(East Thrace) และสมัชชาใหญ่แห่งชาติของตุรกีได้ตัดสินใจที่จะจัดตั้งสาธารณรัฐตุรกี ซึ่งถูกประกาศเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1923
ด้วยการจัดตั้งขบวนการชาตินิยมตุรกี การแบ่งแยกดินแดนของจักรวรรดิออตโตมัน และการยกเลิกการปกครองของระบอบสุลต่าน ยุคสมัยออตโตมันและจักรวรรดิได้มาถึงจุดจบ และด้วยการปฏิรูปของอาทาทืร์ค พวกเติร์กได้สร้างประเทศรัฐฆราวาสที่ก้าวหน้าและทันสมัยของตุรกีบนแนวหน้าทางการเมือง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1924 กาหลิบ(หัวหน้าศาสนาอิสลาม)แห่งออตโตมันได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการและกาหลิบองค์สุดท้ายก็ถูกเนรเทศ
ดูเพิ่ม
[แก้]- การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย
- การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวกรีก
- การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวอัสซีเรีย
- Aftermath of World War I
- Chronology of the Turkish War of Independence
- List of modern conflicts in the Middle East
- เหรียญสงครามประกาศอิสรภาพตุรกี
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- Barber, Noel (1988). Lords of the Golden Horn: From Suleiman the Magnificent to Kamal Ataturk. London: Arrow. ISBN 978-0-09-953950-6.
- Gingeras, Ryan (2022). The Last Days of the Ottoman Empire. Dublin: Random House. ISBN 978-0-241-44432-0.
- Dobkin, Marjorie Housepian, Smyrna: 1922 The Destruction of City (Newmark Press: New York, 1988). ISBN 0-966 7451-0-8.
- Kinross, Patrick (2003). Atatürk: The Rebirth of a Nation. London: Phoenix Press. ISBN 978-1-84212-599-1. OCLC 55516821.
- Kinross, Patrick (1979). The Ottoman Centuries: The Rise and Fall of the Turkish Empire. New York: Morrow. ISBN 978-0-688-08093-8.
- Landis, Dan; Albert, Rosita, บ.ก. (2012). Handbook of Ethnic Conflict:International Perspectives. Springer. p. 264. ISBN 9781461404477.
- Lengyel, Emil (1962). They Called Him Atatürk. New York: The John Day Co. OCLC 1337444.
- Mango, Andrew (2002) [1999]. Ataturk: The Biography of the Founder of Modern Turkey (Paperback ed.). Woodstock, NY: Overlook Press, Peter Mayer Publishers, Inc. ISBN 1-58567-334-X.
- Mango, Andrew, The Turks Today (New York: The Overlook Press, 2004). ISBN 1-58567-615-2.
- Milton, Giles (2008). Paradise Lost: Smyrna 1922: The Destruction of Islam's City of Tolerance (Paperback ed.). London: Sceptre; Hodder & Stoughton Ltd. ISBN 978-0-340-96234-3. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
- Sjöberg, Erik (2016). Making of the Greek Genocide: Contested Memories of the Ottoman Greek Catastrophe. Berghahn Books. ISBN 978-1785333255.
- Pope, Nicole and Pope, Hugh, Turkey Unveiled: A History of Modern Turkey (New York: The Overlook Press, 2004). ISBN 1-58567-581-4.
- Yapp, Malcolm (1987). The Making of the Modern Near East, 1792–1923. London; New York: Longman. ISBN 978-0-582-49380-3.
- สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี
- สงครามเกี่ยวข้องกับตะวันออกกลาง
- สงครามเกี่ยวข้องกับตุรกี
- สงครามเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิออตโตมัน
- สงครามเกี่ยวข้องกับสหราชอาณาจักร
- สงครามเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส
- สงครามเกี่ยวข้องกับสหรัฐ
- สงครามเกี่ยวข้องกับอิตาลี
- สงครามเกี่ยวข้องกับกรีซ
- สงครามตัวแทน
- สงครามประกาศอิสรภาพ
- บทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์