ตับอักเสบซี
ตับอักเสบซี | |
---|---|
ภาพกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงไวรัสตับอักเสบซี จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ (สเกล = 50 นาโนเมตร) | |
สาขาวิชา | วิทยาระบบทางเดินอาหาร, วิทยาโรคติดต่อ |
อาการ | ปกติไม่มีอาการ[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | ตับวาย, มะเร็งตับ, หลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร และกระเพาะ[2] |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว (80%)[1] |
สาเหตุ | ไวรัสตับอักเสบซีโดยทั่วไปติดต่อผ่านทางเลือดสู่เลือดากเลือดสู่เลือด[1][3] |
วิธีวินิจฉัย | ตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี หรืออาร์เอ็นเอของไวรัส[1] |
การป้องกัน | การใช้เข็มที่ฆ่าเชื้อแลัว, การตรวจเลือดก่อนการถ่ายเลือด[4] |
การรักษา | ยา, ปลูกถ่ายตับ[5] |
ยา | ยาต้านไวรัส (โซโฟบูเวียร์, ซิเมพรีเวียร์, ฯลฯ)[1][4] |
ความชุก | 71 ล้าน (2017)[6] |
การเสียชีวิต | 399,000 (2016)[6] |
โรคตับอักเสบซี (อังกฤษ: Hepatitis C) เป็นโรคติดต่อที่ก่อโดยไวรัสตับอักเสบซี (HCV) ซึ่งหลัก ๆ แล้วส่งผลต่อตับ;[2] เป็นหนึ่งในชนิดของตับอักเสบจากไวรัส[7] ในการติดต่อระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการหรือมีอาการที่เบามาก[1] อาจมีบ้างที่พบไข้, ปัสสาวะสีเข้ม, ปวดท้อง หรือดีซ่าน[1] ไวรัสจะคงอยู่ในตับราว 75% ถึง 85% จากที่ติดเชื้อแรกเริ่มผู้ที่ติดเชื้อ[1] อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผ่านไปเป็นปี มันมักนำไปสู่โรคตับ และบางครั้ง ตับแข็ง[1] ที่ซึ่งในบางกรณีตับแข็งนี้อาจนำไปสู่ตับวาย, มะเร็งตับ หรือ วาริกซ์ในหลอดอาหาร และ กระเพาะ[2]
HCV ติดต่อหลัก ๆ ผ่านทางการติดต่อจากเลือดสู่เลือด (blood-to-blood contact) อันเกี่ยวเนื่องจากการฉีดยา, อุปกรณ์การแพทย์ที่ไม่ได้ทำความสะอาดให้ดี, การบาดเจ็บจากเข็มฉีดยาในเจ้าหน้าที่การแพทย์ และจาก การถ่ายเลือด[1][3] เมื่อมีการตรวจสกรีนเลือดแล้ว ความเสี่ยงที่จะเกิดในการถ่ายเลือดนั้นต่ำลงกว่าหนึ่งในสองล้าน[1] และอาจติดต่อจากมารดาสู่ทารกขณะคลอดได้[1] และไม่ได้ติดต่อผ่านทางผิวเผิน[4] ไวรัสตับอีกเสบซีเป็นหนึ่งในห้าตับอักเสบจากไวรัสที่เป็นที่รู้จัก: เอ, บี, ซี, ดี และ อี[8]
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้รักษาตับอักเสบซี[1][9]
ในวันที่ 5 ตุลาคม 2020 ฮาร์วีย์ เจ. ออลเทอร์ (Harvey J. Alter), ไมเคิล ฮอว์ทัน (Michael Houghton) และ ชาลส์ เอ็ม. ไรซ์ (Charles M. Rice) ได้รับรางวัลโนเบิลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยาสำหรับการค้นพบไวรัสตับอักเสบซีซึ่งก่อโรคนี้[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 "Q&A for Health Professionals". Viral Hepatitis. Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 551–52. ISBN 978-0-8385-8529-0.
- ↑ 3.0 3.1 Maheshwari, A; Thuluvath, PJ (February 2010). "Management of acute hepatitis C". Clinics in Liver Disease. 14 (1): 169–76, x. doi:10.1016/j.cld.2009.11.007. PMID 20123448.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWHO2015
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNEJM2011
- ↑ 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWHO2019Fact
- ↑ "Hepatitis MedlinePlus". U.S. National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 2020-06-19.
- ↑ "Viral Hepatitis: A through E and Beyond". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2016. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
- ↑ Webster, Daniel P; Klenerman, Paul; Dusheiko, Geoffrey M (2015). "Hepatitis C". The Lancet. 385 (9973): 1124–35. doi:10.1016/S0140-6736(14)62401-6. ISSN 0140-6736. PMC 4878852. PMID 25687730.
- ↑ Gallagher, James (2020-10-05). "Hepatitis C discovery wins the Nobel Prize". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- Hepatitis C ที่เว็บไซต์ Curlie
- "Recommendations for Testing, Managing, and Treating Hepatitis C". www.hcvguidelines.org. IDSA/AASLD. สืบค้นเมื่อ 28 July 2017.
- "Hepatitis C". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine.